ขนาดตัวอักษร
ความตัดกันของสี

เกี่ยวกับกรมฯ

เกี่ยวกับกรม

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร) 

แต่เดิมเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ ก่อตั้งขึ้นในสมัยรัชการที่ 5 ในชื่อว่า “กรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา”เมื่อวันที่ 1มกราคม พ.ศ. 2434 ทำหน้าที่ดูแลการทำเหมืองแร่การออกแบบอนุญาตเกี่ยวกับการตรวจหาแร่ และ ทำเหมืองตลอดทั่วราชอาณาจักร


ต่อมากรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา หรือ “กรมแร่” ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อและกระทรวงต้นสังกัดหลายครั้งตามยุคสมัย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2485 จึงได้มีการจัดตั้งกระทรวงอุตสาหกรรม และโอนกิจการของกรมราชโลหกิจและภูมิวิทยาเข้ามาสังกัดในชื่อว่า “กรมโลหกิจ” ในปี 2506 ได้โอนมาสังกัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ภายใต้ชื่อ กรมทรัพยากรธรณี และ โอนมาสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรอีกครั้งในปี พ.ศ. 2526 จนถึงปฏิรูประบบราชการ พ.ศ.2545 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 โดยงานด้านแร่และโลหกรรม ได้แยกตัวออกมาจัดตั้งเป็นหน่วยงานใหม่ตั้งเป็น
“กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่” สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งคนทั่วไปจะเรียกชื่อกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่สั้นๆว่า “กรมเหมืองแร่” มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐาน และ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ดูแล ส่งเสริม และสนับสนุนการประกอบกิจการเหมืองแร่ โลหกรรม และ อุตสาหกรรมพื้นฐาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต และ การแข่งขัน ภาคอุตสาหกรรมตอบสนองความต้องการใช้อย่างยั่งยืน และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยของประชาชน และในปี พ.ศ. 2549 กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ รับผิดชอบภารกิจด้านโลจิสติกส์อุตสาหกรรมด้วย

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2560 มีการประกาศราชกิจจานุเบกษา  กฏกระทรวงแบ่งส่วนงานราชการ  กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560 กำหนดให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่   มีภารกิจเกี่ยวกับการจัดหาและบริหารจัดการวัตถุดิบ โดยการส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่  โลหกรรม อุตสาหกรรมพื้นฐานและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เพื่อสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ ให้มีการใช้ประโยชน์แร่    และโลหะอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยอย่างยั่งยืนการปรับโครงสร้างกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการหมืองแร่ใหม่นับเป็นการปรับบทบาทภารกิจ ในการก้าวไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมแร่ อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากแร่และวัตถุดิบอย่างเบ็ดเสร็จ เพื่อสนับสนุนการลงทุนและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายประเทศไทย 4.0 และ อุตสาหกรรม 4.0

 


 

ภารกิจและอำนาจหน้าที่

ผู้บริหาร กพร.

Photo
นายอดิทัต วะสีนนท์
รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

Photo
นายเศรษฐรัชต์ เลือดสกุล
รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

Photo
รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

Photo
นางสาวกฤตยา ศักดิ์อมรสงวน
วิศวกรเหมืองแร่ชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านเหมืองแร่

Photo
นางสาวธารกมล ถาวรพานิช
วิศวกรโลหการชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านโลหการ

Photo
นายชัยวิทย์ อุณหศิริกุล
ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

Photo
นางดารณี เคียงประคอง
ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจสอบภายใน

Photo
นางสลิลา ยรรยงสวัสดิ์
เลขานุการกรม

Photo
นายนิพล แจ่มเหมือน
ผู้อํานวยการกองกฎหมาย

Photo
นายธีรวุธ ตันนุกิจ
ผู้อํานวยการกองนวัตกรรมวัตถุดิบและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

Photo
นายทรงวุฒิ อาทิตย์ทอง
ผู้อํานวยการกองบริการงานอนุญาต

Photo
นางสาวกิตติ์สิริ แก้วพิพัฒน์
ผู้อํานวยการกองบริหารจัดการวัตถุดิบอุตสาหกรรม

Photo
นายยุทธศิลป์ รักญาติ
ผู้อํานวยการกองบริหารสิ่งแวดล้อม

Photo
นายสุพจน์ พินิตกิตติสกุล
ผู้อํานวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน

Photo
นายอานันท์ ฟักสังข์
ผู้อํานวยการกองวิศวกรรมบริการ

Photo
นางสาวพรชลันพักษ์ เพ็ญคุณาพร
ผู้อํานวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

Photo
นายสิทธิชัย จุทอง
ผู้อํานวยการสํานักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 1 สงขลา

Photo
นายเชาวลิตร์ ทองประดับ
ผู้อํานวยการสํานักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 2 อุดรธานี

Photo
ผู้อํานวยการสํานักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 3 เชียงใหม่

Photo
ผู้อํานวยการสํานักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 4 ภูเก็ต

Photo
ผู้อํานวยการสํานักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 5 พิษณุโลก

Photo
ผู้อํานวยการสํานักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 6 นครราชสีมา

Photo
นายชัยยุทธ สุขเสริม
ผู้อํานวยการสํานักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 7 ราชบุรี

โครงสร้างกรม



สารจากอธิบดี